เตรียมพร้อมก่อนสอบกรมอุตุนิยมวิทยา สอบเข้าเรียนนักเรียนอุตุนิยมวิทยา

คำแนะนำในการสอบกรมอุตุนิยมวิทยา
กรมอุตุนิยมวิทยา (Meteorological Department of Thailand) เป็นหน่วยงานของรัฐบาล ระดับกรม สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำหน้าที่ในการพยากรณ์อากาศ รายงานปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ เช่น แผ่นดินไหว ความสูงของคลื่น รายงานพยากรณ์อากาศประจำวันและพยากรณ์อากาศในช่วงเวลาที่กำลังจะมาถึง รวมทั้งออกประกาศเตือนต่างๆ
การเข้าทำงานในตำแหน่งนักอุตุนิยมวิทยาของกรมอุตินิยมวิทยาจะมีอยู่  2  กรณีคือ
1. การสอบบรรจุเข้ารับราชการ
2.การสอบเข้าเป็นนักเรียนอุตุนิยมวิทยา สำหรับผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ หรือเทียบเท่าและมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) ไม่ต่ํากว่า 2.50 เมื่อเรียนจบมีโอกาสบรรจุรับราชการ
สำหรับผู้ที่มิได้จบทางด้านอุตุนิยมวิทยาโดยตรง เมื่อสามารถทำการสอบผ่านการคัดเลือกและได้รับการบรรจุแล้ว จะต้องอบรมหลักสูตรวิชาอุตุนิยมวิทยาอีก 6 เดือน ซึ่งหลักสูตรประกอบด้วยการเรียนรู้อุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น จนถึงการประยุกต์ใช้งาน เมื่อสำเร็จการอบรมแล้ว จึงจะไปปฏิบัติงานได้ในฐานะนักอุตุนิยมวิทยา ซึ่งจะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนัก หรือส่วนที่สังกัด
ผู้ที่สนใจในอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังนี้
-ผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ หรือเทียบเท่า แล้วเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาอุตุนิยมวิทยาคณิตศาสตร์ หรือฟิสิกส์ หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ ทุกสาขา
-สำหรับผู้ที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สายวิทยาศาสตร์ หรือเทียบเท่า ที่มีความสนใจในเรื่องของดินฟ้าอากาศ และต้องการเป็นเจ้าหน้าที่อุตุนิยมวิทยา สามารถสอบคัดเลือกเข้าเป็นเจ้าหน้าที่ของกรมอุตุนิยมวิทยาได้และมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-ม.6) ไม่ต่ํากว่า 2.50 เมื่อกรมฯ เปิดรับสมัครเจ้าหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าว โดยจะได้รับการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรอุตุนิยมวิทยาเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งหลักสูตรจะประกอบด้วยภาคทฤษฎี 6 เดือน และภาคปฏิบัติ 6 เดือน
ในการสอบเข้ากรมอุตุนิยมวิทยา การสอบบรรจุเข้ารับราชการผู้เข้าสอบจะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ.  ก่อน  แต่ถ้าสอบเป็นพนักงานราชการไม่ต้องใช้ใบสอบผ่านภาค  ก ของ ก.พ.  การสอบเข้ากรมอุตุนิยมวิทยา จะมีการประเมินสมรรถนะอยู่  2  ครั้ง   คือ  ครั้งที่  1  โดยการสอบข้อเขียน   ครั้งที่  2  โดยการสัมภาษณ์  และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่  2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์  ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60

การเตรียมตัวสอบ 
อ่านหนังสือให้เยอะ และฝึกทำแบบฝึกหัดให้เกิดความเข้าใจในเรื่องที่เรายังไม่ถนัดหรือชำนาญ พร้อมทั้งหาข้อสอบย้อนหลังมาฝึกทำด้วย
การสมัครสอบเป็นนักอุตุนิยมวิทยาปฏิบัติการ ใช้วุฒิทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ทุกสาขาได้ ข้อสอบที่ออกจะอยู่ในระดับปริญาตรี ปี 1 =  ได้แก่  คณิต ฟิสิกส์ อุตุนิยมวิทยา ที่ทุกคนเคยเรียนมาหมดแล้ว และภาษาอังกฤษกับการสัมภาษณ์ ข้อสอบไม่ได้ยากประมาณ ป.ตรี ปี1 บ้างอันระดับ ม.ปลายด้วยซ้ำ ดังนั้นควรหาพวก ข้อสอบเอ็นท์เก่าๆ มาทำได้เลย  ปัญหาอย่างเดียวของผู้เข้าสอบคือ ทำข้อสอบไม่ทัน เพราะข้อสอบเยอะมาก  ดังนั้นต้องหัดทำข้อสอบเก่าๆให้เยอะจะได้ชำนาญ  ส่วนอังกฤษค่อนข้างจจะยากต้องลองหาข่าวภาคภาษาอังกฤษเกี่ยวกับพายุไต้ฝุ่นมาอ่าน อ่านให้เยอะๆ และดูศัพท์เกี่ยวกับอุตุมาให้ดี จำให้ได้ว่าคำศัพท์ที่สำคัญในการพยากรณ์อากาศหรือที่เกี่ยวกับกรมอุตุมีอะไรบ้าง เจอในข้อสอบจะได้ตอบได้ทันที
และในตำแหน่งอื่นควรศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาตำแหน่งให้ดี ข้อสอบจะเป็นระเบียบข้อกฏหมาย วิชากฎหมายก็อ่านฉบับเต็ม  ท่องให้ได้ทุกมาตราอย่าไปอ่านเเต่ช้อย มันไม่ตรงนัก  ฝึกลองวิเคราะห์ข้อสอบ หาปากกาเน้นข้อความมาขีดเพื่อจำง่าย แล้วสรุป หรือท่องให้ได้  ฝึกทำข้อสอบเก่า  โดยเฉพาะในเรื่องที่เป็นจุดบกพร่องของเราทำซ้ำๆจนเข้าใจ
ควรอ่านเนื้อหาที่จะออกสอบในประกาศ และดูเวลาว่าเหลือเวลากี่วันที่จะต้องสอบ และนำเนื้อหาการสอบมาทำความเข้าใจว่าแต่ละเรื่องเกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง  ค้นหาเนื้อหาแต่ละเนื้อหารวบรวมทุกสิ่งอย่างที่คิดว่าเกี่ยวข้องและจำเป็น แล้วแยกใส่ในแฟ้มงานเป็นหมวดๆ เมื่อได้เนื้อหาครบหมดแล้ววิเคราะห์ว่าแต่ละเนื้อหาใช้เวลาในการอ่านเท่าไหร่ แล้วนำผลรวมออกมาเทียบกับเวลาที่เรามีในการเตรียมตัวสอบ จากนั้นนำเวลามาถัวเฉลี่ย ให้ความหนักเบากับวิชาที่จะสอบ ว่าวิชาไหนเรื่องไหนใช้เวลาเท่าไหร่  แล้วจัดทำตารางการอ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาอาจจะแบ่งเป็นต่อสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แล้วนำมาแปะไว้ที่ไหนก็ได้ที่เราสังเกตเห็นได้ชัด  ในการอ่านแต่ละวิชาควรอ่านอย่างน้อย 2 รอบ รอบแรกเป็นการอ่านรวมๆ เพื่อหาว่าจุดไหนสำคัญบ้างให้นำปากกาเน้นคำ Mark ไว้ รอบที่สอง จดบันทึกสิ่งที่เรา Mark ไว้ สรุปเป็นภาษาของเราเองเพื่อเอาไว้อ่านก่อนสอบ 1 วัน  และก่อนนอนนั่งสมาธิอย่างน้อย 5 นาที สวดมนต์ด้วยก็ยิ่งดี   นอกจากนี้ควรศึกษาเส้นทางการสอบ ห้องสอบให้ดี พอถึงสนามสอบให้ตรวจดูห้องสอบหรือนั่งหน้าห้องสอบรอเลยก็ได้ เพื่อป้องกันความกังวลใจ หรือเรื่องรบกวนใจ  เมื่อใกล้จะสอบควรงดการพูดจาเรื่อยเปื่อย คุยสนุกเรื่องอื่น กับเพื่อนที่ร่วมสอบ หรือใครก็ตามอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันสมองไปจำอย่างอื่น ให้คิดแต่เรื่องสอบอย่างเดียว
นอกจากนี้ควรหาความรู้เกี่ยวกับหน่วยงานด้วย  เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์  พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ  โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต เข้าไปในเว็ปไซด์ของกรมอุตุดู  และความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเมือง เศรษฐกิจ สังคม  
นอกจากวิชาการที่ต้องใช้ตามวุฒิที่จะรับแล้ว ยังต้องทำการบ้านด้วยว่าหน่วยงานนั้นมีการแบ่งองค์กรยังไง ผู้บริหารเป็นใครในแต่ละระดับ แต่ละส่วนขององค์กรทำงานอะไร มีหน้าที่อะไร ตำแหน่งที่เราจะบรรจุมีหน้าที่อะไร ไปที่หน่วยงานนั้น ถ้ามีห้องสมุดหรือเอกสารเผยแพร่ควรไปอ่านให้หมด ปัจจุบันมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานหรือตำแหน่งที่จะทำหรือไม่ อย่างไร

ส่วนในการสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ   ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน   ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที   แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย  การสัมภาษณ์เป็นการพูดคุยกัน  ไม่ต้องเครียด ต้องแสดงความจริงใจ อย่าเสแสร้ง กรรมการจะดูกริยา ลักษณะการพูดจาเป็นว่าเป็นอย่างไรบ้าง เนียมไม่เนียม  สำคัญจุดแรกที่กรรมการจะพิจารณาคือการแต่งกายของผู้เข้าสัมภาษณ์ ดูดี สะอาด ผมรัดผูกให้สวยงาม แต่งหน้าแต่พองาม  พูดให้เป็นธรรมชาติที่สุด  อย่าพาใครไปเป็นเพื่อน
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง  โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 1. ให้แนะนำตัวเอง   2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ   3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน

การสอบเข้าเป็นนักเรียนอุตุนิยมวิทยา 
ก. สอบข้อเขียน มีดังนี้
1 คณิตศาสตร์และสถิติ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ขอบเขตเนื้อหาที่ใช้สอบคณิตศาสตร์  ตรีโกณมิติ ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังก์ชันลอการิทึม เวกเตอร์ พีชคณิต และเรขาคณิต สถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย การทดสอบสมมุติฐานทางสถิติ
2 ฟิสิกส์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ขอบเขตเนื้อหาที่ใช้สอบ กลศาสตร์ การเคลื่อนที่แบบสั่นแกว่ง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส คลื่น แสง เสียง ความร้อนและอุณหพลศาสตร์ ไฟฟ้าสถิต ไฟฟ้ากระแส และแม่เหล็กไฟฟ้า
3 ภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ขอบเขตเนื้อหาที่ใช้สอบ การอ่าน เอาความ บทสนทนา และไวยากรณ์
ข. สัมภาษณ์ โดยพิจารณาตามความเหมาะสมจากความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ บุคลิก วาจา เชาวน์ และความรู้รอบตัว (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ทั้งนี้ผู้มีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์ จะต้องสอบข้อเขียนได้คะแนนในแต่ละวิชา ไม่ต่ํากว่า ร้อยละ 50  และผู้มีสิทธิ์เข้าเรียน จะต้องได้คะแนนรวมทั้งข้อเขียนและสัมภาษณ์ไม่ต่ํากว่าร้อยละ 60

วิชาที่ใช้สอบเป็นพนักงานราชการ   มีดังนี้คือ  (ไม่ใช่ใบ  ก.พ.)
การประเมินครั้งที่  1  โดยวิธีสอบข้อเขียน  (100  คะแนน)
- ความรู้ทั่วไป   40   คะแนน
- ความรู้เฉพาะตำแหน่ง    60  คะแนน
การประเมินครั้งที่  2 (ความพร้อมในการปฏิบัติงาน)  โดยการสอบสัมภาษณ์  (100  คะแนน)
พิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางาน ประสบการณ์ที่เหมาะสมกับตำแหน่ง การมีมนุษย์สัมพันธ์ ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น ท่วงที วาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติ
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และจรรยาบรรณ

การสอบบบรจุเข้ารับราชการ
วิชาที่ใช้สอบเป็นข้าราชการ   มีดังนี้คือ  (ใช้ใบ  ก.พ.)
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง  ( 200  คะแนน )
ตำแหน่งนักอุตุนิยมวิทยา  ได้แก่ วิชาฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา และภาษาอังกฤษ
- ความรู้พื้นฐานทางฟิสิกส์ เวกเตอร์ แรงและสมดุล จลศาสตร์ พลศาสตร์ งานและพลังงานกลศาสตร์ คลื่น เทอร์โมไดนามิกส์
- ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับ พีชคณิตเชิงเส้นและเมตริกซ์ แคลคูลัส เรขาคณิตวิเคราะห์  ความน่าจะเป็น และสถิติ
- ความรู้เกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น
ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ (Sturcture, Vocabulary, and Reading Comprehension)
2. การสอบสัมภาษณ์   ( 100  คะแนน )  เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง
ทั้งนี้ กําหนดให้ผู้สมัครสอบ ต้องสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตําแหน่งก่อนผ่านก่อน โดยมีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60  จึงจะมีสิทธิเข้าสอบภาคความเหมาะสมกับตําแหน่ง

ตำแหน่งที่เปิดรับสมัคร
#นักอุตุนิยมวิทยาปฎิบัติการ
#วิศวกรปฏิบัติการ
#นายช่างไฟฟ้า
#นักเรียนอุตุนิยมวิทยา

อัพเดทแนวข้อสอบกรมอุตุนิยมวิทยา ทุกตำแหน่ง
http://www.xn--22cj5brg8b8ad2ayfb6br0u2dxa.com/category/45/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2


#รวมแนวข้อสอบราชการ,, #แนวข้อสอบราชการ,, #เปิดสอบงานราชการ,, #แนวข้อสอบงานราชการ,, #เตรียมสอบงานราชการ,,#หนังสืองานราชการ,,#เปิดสอบราชการ,, #คู่มือสอบสอบงานราชการ,, #แนวข้อสอบราชการ,,#เตรียมสอบราชการ,,
สอบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง!!เซียนแนวข้อสอบทุกหน่วยงาน!!สอบเข้างานราชการคุณก็ทำได้!!เตรียมพร้อมก่อนลงสนามสอบ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คุยเรื่องสอบกรมชลประทานแนะนำการเตรียมสอบรวบรวมตัวอย่างแนวข้อสอบที่ออกบ่อย

สอบเข้ากรมสรรพกรยากมั้ยมีคำแนะนำการเตรียมตัวสอบจากรุ่นพี่

แนะนำสอบเข้าทำงานธกส.จากรุ่นพี่ที่สอบได้สนามจริง